วิธีการติดตั้ง การดูแลรักษาอลูมิเนียมคอมโพสิต

1086

[scroll_to title=”การติดตั้งอลูมิเนียมคอมโพสิต ติดตั้งอย่างไร ?” link=”การติดตั้งอลูมิเนียมคอมโพสิต ติดตั้งอย่างไร ?”]

การติดตั้งอลูมิเนียมคอมโพสิต ติดตั้งอย่างไร ?

     ในบทความจะอธิบายถึงขั้นตอนการทำงานดังกล่าวว่า ควรจะเริ่มต้นอย่างไร ? ซึ่งก็จะมีขบวนการในการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนอยู่ด้วยกันหลายขั้น และเมื่อได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว เราควรนำแผ่นคอมโพสิตดังกล่าวไปติดตั้งตรงบริเวณหน้างานได้อย่างไร ? อีกทั้งยังสามารถนำมาตัดเป็นรูปร่างอะไรได้บ้าง ? เพื่อที่ว่า การติดตั้งอลูมิแผ่นเนียมในครั้งนี้ จะทำให้เกิดโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธภาพและไม่ทำอันตรายกับคนในบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนทั้งหมดในช่วงติดตั้งแผ่นคอมโพสิตจะเป็นอย่างไรนั้น ? เพื่อน ๆ สามารถหาคำตอบจากบทความกันได้เลยค่ะ

[scroll_to title=”เหตุใดถึงใช้แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตติดตั้งงานทดแทนวัสดุตกแต่งอื่นๆ” link=”เหตุใดถึงใช้แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตติดตั้งงานทดแทนวัสดุตกแต่งอื่นๆ”]

เหตุใดถึงใช้แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตติดตั้งงานทดแทนวัสดุตกแต่งอื่นๆ

     เป็นที่ทราบกันดีว่า คุณสมบัติของแผ่นคอมโพสิตนั้น เป็นวัสดุที่ถูกผลิตออกมาเพื่อนำมาใช้ทดแทนวัสดุตกแต่งอื่น ๆ ทว่า เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับตัวแผ่นคอมโพสิตซึ่งแตกต่างจากวัสดุตกแต่งอื่น ๆ เช่น แผ่นไฟเบอร์ , ไม้ปาร์ติเคิล , ไม้อัดปิดผิวลามิเนต เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างวัสดุที่กล่าวมานั้น ไม่สามารถนำมาดัด โค้ง หรือปรับเปลี่ยนรูปทรงใด ๆ ได้เหมือนแผ่นคอมโพสิต ดังนั้น ในสายงานตกแต่ง ถึงนิยมนำแผ่นคอมโพสิตมาใช้ตกแต่งสถานที่ ทั้งนี้เป็นไปเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับผู้ที่แวะผ่านไปมารวมถึงผู้มาเยือนยังที่อยู่อาศัยที่เราอยู่ นอกเหนือจากคุณลักษณะที่สามารถนำมาดัดโค้งหรือแปลงสภาพ น้ำหนักของแผ่นประเภทนี้ค่อนข้างเบา ทำให้ติดตั้งง่าย อีกทั้งยังมีความแข็งแรงทนทานเป็นของแถมควบคู่กันมาด้วยค่ะ

[scroll_to title=”ส่วนประกอบที่ใช้ในการติดตั้งแผ่นคอมโพสิตที่น่าสนใจ มีอะไรบ้าง ?” link=”ส่วนประกอบที่ใช้ในการติดตั้งแผ่นคอมโพสิตที่น่าสนใจ มีอะไรบ้าง ?”]

ส่วนประกอบที่ใช้ในการติดตั้งแผ่นคอมโพสิตที่น่าสนใจ มีอะไรบ้าง ?

  1. แผ่นคอมโพสิต
  2. ซิลิโคน
  3. รีเว็ท
  4. เม็ดโฟม
  5. ฉากอลูมิเนียม
  6. น็อต
  7. เหล็กเหลี่ยม

     เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการเตรียมติดตั้งงาน อุปกรณ์ทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นอุปกรณ์ที่เราต้องเตรียมให้พร้อมเสมอทั้งนี้และทั้งนั้นนั่นเป็นเพราะ มีความจำเป็นต้องใช้งานและเกี่ยวเนื่องกัน ขาดตัวใดตัวหนึ่งไปไม่ได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่อุปกรณ์ไม่ครบ ความล่าช้าในการติดตั้งงานก็จะตามมา ในส่วนของวิธีการติดตั้งแผ่นคอมโพสิต แท้จริงแล้วมีอยู่ทั้งหมด 8 ขั้นตอนด้วยกันก่อนนำมาติดตั้งจริง ดังนี้ค่ะ

  • Riveting หมายถึง ขั้นตอนการนำแผ่นคอมโพสิตดังกล่าวมาตรึงหรือยึดกับโครงเหล็กที่เราเตรียมไว้ก่อนหน้า สำหรับรองรับแผ่นอลูมิเนียม ทั้งนี้ เป็นไปเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับผนังนั้น ๆ ในกรณีที่ผู้ใช้งานต้องการนำแผ่นฉนวนมารอง สามารถเริ่มทำตั้งแต่ขั้นตอนนี้ได้เลย จากนั้นให้ติดตั้งแผ่นเพลทอลูมิเนียม วัตถุประสงค์เป็นไปเพื่อใช้ในการยึดโครงอลูมิเนียมโปรไฟล์ จากนั้นให้ทำการยึดเข้ากันกับเพลทอลูมิเนียมในขั้นตอนที่ผ่านมาค่ะ

     ข้อควรระวัง ในช่วงที่ทำการติดตั้งเพื่อยึดแผ่นคอมโพสิตเข้ากับโครงที่จัดเตรียมไว้ ควรยึดแผ่นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับจุดมาร์คลูกศร เหตุผลนั่นเป็นเพราะ สีอาจจะเพี้ยนได้ ถ้ายึดคนละแนว

  • Bending เป็นการนำแผ่นคอมโพสิตที่เราเตรียมไว้มาดัดโค้งหลังจากได้ทำการออกแบบชิ้นงานไปแล้วจนแน่ใจว่า ต้องการลักษณะและรูปทรงประมาณนี้ซึ่งตอบสนองความต้องการของเราจริง ๆ โดยปกติแล้ว  งานในรูปแบบนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว งาน Bending มักใช้กับงานสถาปัตยกรรมที่นิยมเน้นเส้นสายเพื่อสร้างลวดลายของงานตกแต่ง โดยมีวัตถุประสงค์ ต้องการทำให้สถานที่ดังกล่าวข้างต้นนั้นดูโดดเด่นและสวยงามมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง การดัดแผ่นคอมโพสิตตามแบบที่ร่างมา จากนั้นนำมาหุ้มเสาเพื่อสร้างความแตกต่าง เป็นต้น
  • Welding หมายถึง การเชื่อม วิธีการ เป็นการนำแผ่นคอมโพสิตมาเชื่อมต่อกันโดยใช้ซิลิโคนเป็นตัวยึด ทั้งนี้เป็นไปเพื่อ ปรับให้ดูเป็นพื้นผิวเดียวกันเพื่อความสวยงามของชิ้นงาน
  • Sherring ความหมายคือ การเฉือน เป็นอีก 1 ขั้นตอนสำคัญนั่นก็คือ เมื่อเราได้ทำการนำแผ่นคอมโพสิตดังกล่าวมาดัดหรือตัดเป็นชิ้นงานจนสำเร็จแล้ว ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำชิ้นงานมาเฉือนเพื่อเก็บด้านและขอบของแผ่นคอมโพสิตให้ดูเรียบร้อย น่าติดตั้ง มองยังไงก็สวยงาม
  • Cutting หมายถึง การตัด เมื่อได้รูปแบบที่ต้องการแล้ว ก็สามารถนำแผ่นอลูมิเนียมดังกล่าวมาตัดเป็นชิ้น ๆ ได้
  • Folding คุณสมบัติของแผ่นคอมโพสิตนั่นก็คือ สามารถนำมาพับได้ถึง 90 องศา ดังนั้น ถึงทำออกมาได้หลายรูปทรง
  • Grooving คือ การเซาะร่อง เป็นอีก 1 ขั้นตอน เพื่อเปิดช่องว่างให้กับแผ่นอลูมิเนียม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดมุมที่สามารถนำมาพับได้
  • Drilling หมายถึง การเจาะ เชื่อหรือไม่คะ การเจาะก็เป็นอีก 1 ขั้นตอนในการสร้างลวดลายให้กับชิ้นงานให้มีลวดลายที่สวยงามและแตกต่างมากยิ่งขึ้นได้ เพราะฉะนั้น ก่อนทำการเจาะลวดลายสวย ๆ ลงบนแผ่นคอมโพสิต ให้ลองหารูปแบบลายที่เข้ากับบรรยากาศของที่อยู่อาศัยหรืออาคารจากอินเตอร์เน็ตหรือใน Pinterest แล้วนำมาดัดแปลง อย่าไปลอกเลียนแบบเพราะอาจมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ได้ หรือถ้าจะให้แน่ใจ ขอคำแนะนำจากดีไซเนอร์ได้เลยค่า แล้วเราจะมีลวดลายสวย ๆ อันเกิดจากการเจาะโชว์ผู้แวะเวียนรวมถึงเราที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเองค่ะ

[scroll_to title=”การดูแลแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตให้สวยงามและดูน่าใช้งานไปนาน ๆ ทำอย่างไร ?” link=”การดูแลแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตให้สวยงามและดูน่าใช้งานไปนาน ๆ ทำอย่างไร ?”]

การดูแลแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตให้สวยงามและดูน่าใช้งานไปนาน ๆ ทำอย่างไร ?

     จะเห็นได้ว่า การติดตั้งอลูมิเนียมคอมโพสิตนั้น มีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การทำเหล็กเป็นฐานเอาไว้ สำหรับวางและยึดตัวแผ่นคอมโพสิตเข้าไว้ด้วยกันกับผนังทั้งนี้เป็นไปเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับตัวแผ่นอลูมิเนียม เป็นต้น ดังนั้น ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปว่าจะปลอดภัยหรือไม่ ? เมื่อใช้งานไปแล้วสักพัก มาถึงการดูแลทำความสะอาดก็เป็นอีก 1 เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งวิธีการดูแลนั้น ง่ายแสนง่าย เพียงแค่ใช้น้ำสบู่หรืออื่น ๆ ยกเว้นสารสำหรับทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เพราะจะทำให้ลวดลายบนผิวแผ่นคอมโพสิตเสื่อมสภาพเร็วขึ้น จากนั้นใช้ผ้าขนหนูนุ่ม ๆ ชุบน้ำสบู่เช็ดและทำความสะอาด ปิดท้าย ด้วยการใช้น้ำเย็นล้างเพื่อขจัดคราบต่าง ๆ บนแผ่นคอมโพสิต การทำความสะอาดควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งก็เพียงพอแล้ว ทั้งนี้เป็นไปเพื่อยืดอายุการใช้งานตลอดจนลวดลายสวย ๆ บนแผ่นคอมโพสิตให้ใช้งานไปนาน ๆ ค่ะ